Hyperfocal distance
เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เราเพิ่มระยะชัดให้กับภาพให้ได้มากที่สุด ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ปกติแล้วเวลาเราโฟกัสไปที่ตำแหน่งใดก็ตาม จะมีพื้นที่ความคมชัดขยายออกมาทางด้านหน้าและขยายไปด้านหลังของจุดโฟกัส พื้นที่ความคมชัดที่ขยายไปทั้งด้านหน้าและด้านหลังนี้รวมกันเรียกว่า ระยะชัดลึก(Depth of Field) ซึ่งระยะชัดลึกนี้ไม่ได้เป็นระยะที่ตายตัว มีหลายปัจจัยที่ทำให้ระยะชัดกว้างขึ้นหรือแคบลง ไม่ว่าจะเป็นทางยาวโฟกัส การใช้รูรับแสง หรือระยะที่โฟกัส ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เป็นจุดสำคัญที่จะให้เรานำเทคนิคไฮเปอร์โฟกัสไปใช้[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”10422″ img_size=”600 x 849″ alignment=”center”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]
แล้วระยะไฮเปอร์โฟกัสอยู่ตรงไหน ?
หลายคนคงทราบแล้วว่า หากเรายิ่งโฟกัสวัตถุที่อยู่ระยะใกล้เท่าไหร่ ระยะชัดลึก(dof)ก็จะยิ่งแคบลง และหากเราขยับจุดโฟกัสให้ห่างออกไป ระยะชัดลึก(dof)ก็จะยิ่งกว้างขึ้น ทีนี้ถ้าเราลองเลื่อนจุดโฟกัสให้ห่างออกไปเรื่อยๆ ก็จะเจอจุดๆหนึ่งที่เรียกว่าHyperfocal distance ซึ่งจุดนี้เองระยะชัดด้านหลังจะครอบคลุมกว้างไปจนถึงระยะอนันต์หรือที่เราเรียกว่าระยะอินฟินิตี้ (infinity) และระยะชัดทางด้านหน้าจะครอบคลุมมาจนถึงครึ่งหนึ่งของระยะทางที่เราโฟกัส เช่น หากระยะHyperfocalอยู่ที่10เมตร ระยะชัดก็จะเริ่มตั้งแต่5เมตรเป็นต้นไปจนถึงอินฟินิตี้
ส่วนจะหาระยะไฮเปอร์โฟกัสได้ยังไงนั้นก็ขึ้นอยู่กับเลนส์แต่ละตัว โดยมีตัวแปรสำคัญคือ
[wp-svg-icons icon=”checkmark-circle” wrap=”i”] ขนาดเซนเซอร์
[wp-svg-icons icon=”checkmark-circle” wrap=”i”] ทางยาวโฟกัส
[wp-svg-icons icon=”checkmark-circle” wrap=”i”] รูรับแสง
[wp-svg-icons icon=”checkmark-circle” wrap=”i”] ระยะโฟกัส
ซึ่งการจะหาระยะไฮเปอร์โฟกัส จะต้องนำค่าเหล่านี้มาคำนวณ ซึ่งวิธีการคำนวณนั้นก็ออกจะยุ่งยาก แต่เราสามารถเปิดเว็บหรือหาแอพมาใช้งานได้เลยง่ายๆ โดยลองเสิร์จดูเช่น dof calculator, hyperfocal ได้เลยครับ[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]
ตัวอย่างแอพ
[/vc_column_text][vc_single_image image=”10418″ img_size=”600 x 477″ alignment=”center”][vc_column_text]ในแอพก็จะให้เราเลือกรุ่นกล้อง ระยะเลนส์ รูรับแสง และระยะที่เราจะโฟกัส เมื่อเลือกแล้ว แอพจะแจ้งระยะ Hyperfocal ในตัวอย่างข้างบน เลนส์ 35 มม. f8 ระยะ Hyperfocal อยู่ที่ประมาณ 8.5 เมตร เมื่อเราโฟกัสไปที่ระยะนี้ จะมีระยะชัดเริ่มที่ 4.26 เมตรจนถึงสุดขอบฟ้า ส่วนเลนส์18มม. ระยะ Hyperfocal อยู่ที่ประมาณ 2.3 เมตร เมื่อเราโฟกัสไปที่ระยะนี้จะมีระยะชัดเริ่มที่ 1.13 เมตรจนถึงสุดขอบฟ้า ทีนี้เราก็จะรู้ว่าเลนส์ที่เราใช้อยู่ มีระยะไฮเปอร์โฟกัสอยู่ตรงไหน รวมทั้งเรายังสามารถทราบว่าตำแหน่งที่เราจะโฟกัสมีระยะชัดลึกจากตำแหน่งไหนถึงตำแหน่งไหนอีกด้วย[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”10421″ img_size=”700 x 990″ alignment=”center”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]ประโยชน์ของ Hyperfocal Distance
ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเปิดรูรับแสงแคบมากเกินไป แต่เอาระยะชัดที่ได้มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด หรือกรณีไม่มีเลนส์มุมกว้าง เราสามารถหาระยะHyperfocalของเลนส์ที่เรามีเพื่อเอาระยะชัดที่ได้มาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน
สำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ หลายคนอาจคิดว่า หากเราต้องการให้มีระยะชัดลึกมากๆ ตามหลักแล้วเราต้องเปิดรูรับแสงให้แคบลงมากๆ เพื่อให้ระยะชัดลึกเพิ่มมากขึ้น แต่จริงๆแล้วการใช้รูรับแสงแคบมากเกินไปก็มีข้อเสียหลายอย่าง[/vc_column_text][vc_single_image image=”10419″ img_size=”800 x 533″ alignment=”center”][vc_column_text]
ข้อเสียของการใช้รูรับแสงแคบเกินไป
[wp-svg-icons icon=”checkmark-circle” wrap=”i”] ในกรณีไม่มีขาตั้งกล้อง แล้วอยากถ่ายวิวตอนแสงน้อย หากเปิดรูรับแสงแคบเกินไป จะทำให้สปีดชัตเตอร์ต่ำจนไม่สามารถใช้มือถือถ่ายได้ หรือไม่ก็ต้องใช้ ISO สูงๆ ซึ่งทำให้คุณภาพของภาพลดลง
[wp-svg-icons icon=”checkmark-circle” wrap=”i”] ปัญหาเรื่อง Diffraction (การเลี้ยวเบน) ซึ่งเกิดจากการที่เราใช้รูรับแสงแคบเกินไป แสงจะถูกบีบอัดและมีการฟุ้งกระจาย เกิดเป็น diffraction ขึ้นมา ทำให้ภาพไม่คมชัด ซึ่งเกิดขึ้นได้กับกล้องทุกตัว แต่จะมากน้อยก็ขึ้นกับสเปคของกล้องแต่ละตัว โดยปกติแล้ว เลนส์แต่ละตัวจะมีความคมชัดระดับนึงเมื่อเปิดรูรับแสงกว้างสุด แต่เมื่อเราหรี่รูรับแสงลง ความคมชัดจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อหรี่รูรับแสงมากเกินไป ความคมชัดก็จะเริ่มลดลง (เลนส์แต่ละตัวส่วนใหญ่จะให้ความคมชัดสูงสุดที่ F/8-F/11โดยประมาณ ถ้าแคบกว่านี้จะเริ่มเกิดปัญหา Diffraction limit ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสเปคเลนส์และกล้องที่เราใช้)
ช่างภาพทิวทัศน์จำนวนมากจะพยายามไม่ใช้รูรับแสงที่แคบกว่า f/11 ซึ่งเป็นค่าที่ดีที่สุดระหว่างระยะชัดลึกและความคมชัด โดยใช้วิธีเพิ่มระยะชัดลึกด้วยเทคนิคไฮเปอร์โฟกัส ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากระยะชัดลึกในภาพสูงสุดแม้ว่าจะใช้รูรับแสงที่ค่อนข้างกว้างก็ตาม
ยังไงลองนำไปใช้กันดู หวังว่าจะมีประโยน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ โอกาสหน้าจะมีอะไรมาแนะนำกันอีก ต้องติดตามดูที่ www.digital2home.com สวัสดีครับ[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”10420″ img_size=”800 x 533″ alignment=”center”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]ที่มา : www.digital2home.com[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]