Exposure Triangle พื้นฐานก่อนถ่าย “โหมด M”

มือใหม่คนไหนที่เบื่อกับโหมดAuto อยากลองฝึกใช้โหมดอื่นดูบ้างอย่างโหมด M หรือ Manual ที่เราสามารถตั้งค่าเองได้ทุกอย่าง สิ่งที่เราควรรู้และเข้าใจก่อนเลยก็คือ ความสัมพันธ์แสง ที่ประกอบไปด้วย รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO หรือเรียกรวมกันว่า Exposure Triangle ที่จะช่วยให้เราปรับค่าปริมาณแสงได้เหมาะสม สามารถครีเอทภาพถ่ายได้อย่างอิสระ ช่วยให้ภาพถ่ายของเราสวยและมีคุณภาพมากขึ้นได้อย่างแน่นอน

Exposure Triangle

Exposure Triangle

– ความสัมพันธ์แสง ประกอบด้วย “ รูรับแสง – ความเร็วชัตเตอร์ – ISO ”

– หากเปลี่ยนค่าใดค่าหนึ่ง จะส่งผลต่อแสงในภาพ

ดังนั้นหากเปลี่ยนค่าใดค่าหนึ่ง จะต้องปรับค่าอื่นๆเพื่อควบคุมปริมาณแสงให้เหมาะสม

เช่น กรณีที่ 1 หากต้องการถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง

– สิ่งหลักที่ต้องสนใจ = ความเร็วชัตเตอร์ต้องสูง

เมื่อความเร็วชัตเตอร์สูง จะทำให้แสงเข้ากล้องได้น้อยลง ดังนั้นจึงต้องเพิ่มแสงให้เท่าเดิม โดยการปรับรูรับแสงให้กว้างขึ้น หรือปรับ ISO ให้สูงขึ้น

หรือกรณีที่ 2 การถ่าย Portrait ในอาคารที่มีแสงน้อย

– สิ่งหลักที่ต้องสนใจ = ค่ารูรับแสงต้องกว้าง (f น้อย) เพื่อเพิ่มปริมาณแสง

เมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุดแล้วปริมาณแสงยังไม่โอเค ดังนั้นจึงต้องปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลง หรือ ISO สูงขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณแสงให้เหมาะสม

Aperture ” รูรับแสง “

Aperture หรือ รูรับแสง

– ตัวกำหนดปริมาณแสงที่เข้าสู่กล้อง

– วัดโดยการใช้ค่า F-stop: F น้อย – รูรับแสงกว้าง, F มาก – รูรับแสงแคบ

– มีผลต่อระยะชัดของภาพ: F น้อย – เน้นแบบ เบลอหลัง, F มาก – ชัดทั้งภาพ

Shutter Speed ” ความเร็วชัตเตอร์ “

Shutter Speed หรือ ความเร็วชัตเตอร์

– ระยะเวลาที่กล้องเปิดให้แสงเข้ามา

– ส่งผลต่อปริมาณแสงที่เข้ามาสู่กล้อง และการเคลื่อนไหวของวัตถุ

– ความเร็วชัตเตอร์สูง – แสงเข้าน้อย สามารถหยุดการเคลื่อนไหวให้นิ่ง มักใช้ถ่ายภาพกีฬา

– ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ – แสงเข้ามาก วัตถุที่เคลื่อนไหวจะเบลอ มักใช้ถ่ายแสงไฟให้เป็นเส้น น้ำตกฟุ้งๆ เป็นต้น

Tips:

– หากใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ามากๆ ควรใช้ขาตั้งกล้องเป็นตัวช่วย เพื่อป้องกันความเบลอของภาพ หากไม่มีขาตั้งกล้อง ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ เช่น ทางยาวโฟกัส 100 mm ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่ 1/100

ISO ” ความไวต่อการรับแสง “

ISO หรือ ความไวต่อการรับแสง

– มักใช้ในกรณีที่เราไม่สามารถเพิ่มแสงโดยใช้รูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ได้ จึงต้องใช้ ISO ช่วยในการเพิ่มแสง (ทั้งนี้การใช้ ISO อาจทำให้เกิด Noise ได้)

– ISO ต่ำ – ภาพมืดลง Noise ไม่ค่อยมี

– ISO สูง – ภาพสว่างขึ้น เริ่มมี Noise

ทั้งนี้ความสามารถในการเพิ่ม ISO แล้วเกิด Noise มาก/น้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกล้อง

Tips:

สามารถตั้งค่า ISO ให้ตายตัว หรือให้กล้องปรับตามความเหมาะสมก็ได้ โดยเราสามารถกำหนดค่า ISO สูงสุดไว้ได้เพื่อป้องกันการใช้ ISO ที่สูงเกินไปจนทำให้เกิด Noise

โหมดถ่ายรูปที่เกี่ยวข้อง

โหมดถ่ายรูปที่เกี่ยวข้อง

เมื่อเรารู้หลักการของความสัมพันธ์แสงแล้ว สามารถนำไปปรับใช้กับการถ่ายรูปโหมดต่างๆ ที่ต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในการตั้งค่าเพื่อให้ได้ภาพในแบบที่เราต้องการ

โหมด A / Aperture Priority

– โหมดปรับรูรับแสง

สามารถปรับรูรับแสงได้ตามต้องการ โดยกล้องจำคำนวณสปีดชัตเตอร์ให้

โหมด S / Shutter Priority

– โหมดปรับความเร็วชัตเตอร์

สามารถปรับสปีดชัตเตอร์ได้ตามต้องการ โดยกล้องจำคำนวณรูรับแสงให้

โหมด Manual

– สามารถปรับค่าทุกอย่างได้ตามต้องการ

สำหรับใครที่อยากลองฝึกใช้โหมด M ก็อย่าลืมเอาหลักการของเจ้า Exposure Triangle ไปใช้กันดูน้า หรือใครอยากดูเป็นวิดีโอก็สามารถดูคลิปที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *