5 อย่างที่เปลี่ยนไป จาก EF เลนส์มาจนถึง RF มีอะไรที่แตกต่างกันบ้างครับ?

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักเมาท์เลนส์ของทาง Canon กันก่อน นะครับว่า ณ.ตอนนี้มีกี่เมาท์กันแล้วครับ?

  • EF = เมาท์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้อง DSLR FullFrame แต่สามารถนำไปใส่กับ DSLR ขนาดเซ็นเซอร์ APSC ได้
  • EFS = เมาท์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้อง DSLR ขนาดเซ็นเซอร์ APSC ไม่สามารถนำไปใส่ DSLR เซ็นเซอร์ FullFrame ได้
  • EFM = เมาท์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้อง Mirrorless ขนาดเซ็นเซอร์ APSC จะใช้กับ EF,EFS ต้องใช้ Adapter แปลงเมาท์
  • RF = เมาท์เลนส์ใหม่ล่าสุดออกแบบมาสำหรับกล้อง Mirrorless FullFrame สำหรับเลนส์ที่จะใช้ร่วมกันได้กับเมาท์ RF จะมีเพียง EF เมาท์เพียงอย่างเดียว โดยจะต้องใช้ผ่าน Adapter EFEOS R เท่านั้น จะเอากล้อง EOSM มาใส่เลนส์ RF ไม่สามารถใส่ได้ครับ

    สำหรับเมาท์ EF , EFS , EFM ถ้าหากเราจะพูดในภาพรวมก็คือเลนส์ที่มีการพัฒนามาจาก EF ที่ผ่านมาทั้งหมดนั่นแหละครับ ส่วนที่เพิ่มเข้ามาใหม่จริงๆ คือ RF Mount ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จัก RF Mount กันให้มากกว่าเดิมสักหน่อยครับ

เลนส์ EF ตัวแรกเปิดตัวปี 1987 เมื่อเวลาผ่านมา 30 ปีจนถึงปี 2018 ในยุค Canon ทำกล้องมิเรอร์เลส Full Frame พร้อมกับเลนส์เมาท์ RF ใหม่ ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในอีก 30 ปีข้างหน้า แม้ว่าระบบเมาท์ RF จะรวบรวมคุณสมบัติที่ดีที่สุดของระบบเลนส์ EF ไว้ อาทิ เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่และระบบเมาท์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ แต่เลนส์ RF ไม่เพียงคงไว้ซึ่งคุณภาพ เท่านั้น ยังได้รับการเปลี่ยนแปลงให้มีฟังก์ชั่นการทำงานใหม่ที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้างเราไปดูกันครับ

1.การสื่อสารที่ดียิ่งขึ้นระหว่างเลนส์กับกล้อง

เมาท์ RF: การเชื่อมต่อ 12 ขา // เมาท์ EF: การเชื่อมต่อ 8 ขา

เมาท์ RF มีขาเชื่อมต่อ 12 ขา มากกว่า 8 ขาในเลนส์ EF และมาพร้อมการส่งสัญญาณที่ดียิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความเร็วและปริมาณการส่งข้อมูลระหว่างตัวกล้องกับเลนส์ เมาท์จึงมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารมากพอสำหรับความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Canon ได้สร้างเมาท์ที่รองรับอนาคตไว้แล้ว

  • Digital Lens Optimizer (DLO) คือคุณสมบัติหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากเมาท์แบบใหม่อย่างน้อย 2 ทางด้วยกันคือ
    ข้อมูลการแก้ไขเลนส์ DLO สามารถจัดเก็บไว้ในตัวเลนส์ได้แล้วในขณะนี้ เราสามารถส่งข้อมูลนี้ไปยังกล้องได้ทันทีเมื่อใส่เลนส์ RF โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดและลงทะเบียนข้อมูลการแก้ไขเลนส์ด้วยตนเองเมื่อใช้เลนส์ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่
  • การสื่อสารระหว่างเลนส์กับกล้องที่รวดเร็วเช่น สามารถใช้ DLO ระหว่างการถ่ายภาพต่อเนื่อง โดยไม่ส่งผลต่อความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องหรือจำนวนภาพ 

2. เส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ขนาดใหญ่

เลนส์ RF รุ่นบุกเบิก 3 ใน 4 รุ่นมีค่า f/2.0 ขึ้นไป เป็นไปได้อย่างไร ?

เส้นผ่านศูนย์กลางภายในของเมาท์ RF คือ 54 มม. เท่ากันกับเมาท์ EF นักพัฒนาพบว่าขนาด 54 มม. นั้นให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เส้นผ่านศูนย์กลางเมาท์ที่ใหญ่ทำให้เปิดค่ารูรับแสงที่กว้างขึ้นได้ แม้ว่าเมาท์ RF จะมีขนาดเท่ากับเมาท์ EF แต่ดีไซน์ใหม่ช่วยทำให้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดใหญ่ขึ้นในกลุ่มเลนส์ RF ที่ทำออกมาทั้งหมดตอนนี้

3.ระยะห่างจากท้ายเลนส์ถึงเซ็นเซอร์ที่สั้นลงมาก

ซึ่งบ่งบอกถึงระยะแบ็คโฟกัสที่สั้นเช่นกัน ว่าแต่มีข้อดีอะไรบ้าง?

เมื่อตัดพื้นที่ที่เป็นกระจกออกไป ระยะห่างระหว่างเมาท์ถึงเซ็นเซอร์ภาพ (เช่น ระยะจากท้ายเลนส์ถึงเซ็นเซอร์) จะสั้นลง

ในกล้อง EOS R และ EOS RP ส่วนท้ายเลนส์ถึงเซ็นเซอร์มีระยะห่างเพียง 20 มม. ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของระยะห่างในกล้อง DSLR ซึ่งไม่เพียงทำให้ตัวกล้องกะทัดรัดขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้การออกแบบเลนส์มีความยืดหยุ่นสูงขึ้นด้วย ซึงเลนส์ EF ยังทำได้ได้ยากในข้อนี้นะครับ

ความแตกต่างของแบ็คโฟกัสระหว่างกล้องที่ใช้เมาท์ RF กับ EF

EOS R + RF24-105mm f/4L IS USM
EOS 5D Mark IV + EF24-105mm f/4L IS II USM

4. Dual Sensing IS และ Hybrid IS

ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS) ในเลนส์แบบเดิมซึ่งมีเซ็นเซอร์ในตัวเลนส์ที่คอยตรวจจับและแก้ไขการสั่นของกล้อง และDual Sensing IS ได้นำระบบนี้มารวมไว้ เพื่อตรวจจับการสั่นไหวที่ดีขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้นนอกเหนือจาก Dual Sensing IS แล้ว RF Lens บางตัวยังทำงานร่วมกับ Hybrid IS โดยไม่เพียงแก้ไขการสั่นไหวของกล้องแบบมุมองศาเดิมที่เกิดจากการหมุนกล้องและเปลี่ยนมุมกล้องเท่านั้น แต่ยังแก้ไขการสั่นไหวของกล้องในแนวดิ่ง ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของกล้องในแนวขนาน เช่น การแพนกล้อง อีกด้วย

Dual Sensing IS การส่งข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้นของเมาท์ RF ช่วยให้ Dual Sensing IS มีความแม่นยำยิ่งขึ้นกว่าในกล้องซีรีย์ EOS M

A) การสั่นไหวของกล้องแบบมุมองศา
B) การสั่นไหวของกล้องในแนวดิ่ง
C) ระบบ IS
D) ไมโครโปรเซสเซอร์ในเลนส์
E) เซ็นเซอร์จับความเร่ง
F) เซ็นเซอร์ไจโรที่ตรวจจับการสั่นสะเทือน

5.วงแหวนควบคุม

สามารถปรับแต่งวงแหวนควบคุมเพื่อควบคุมการตั้งค่าการเปิดรับแสงต่างๆ อาทิ รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ ความไวแสง ISO และการชดเชยแสงได้ ซึ่งทำได้โดยไปที่แท็บฟังก์ชั่นของกล้องในเมนู จากนั้นเลือก “ปรับแต่งวงแหวน” 

       จะอย่างไรก็ดีที่กล่าวมาทั้งหมด นั่นคือสิ่งที่ Canon พัฒนาสิ่งใหม่ๆให้กับเลนส์ RF มันก็คือข้อดีทั้งหมด แต่สำหรับ RF Lens ณ.ตอนนี้ ก็ยังถือว่า ยังมีราคาค่อนข้างสูงอยู่นะครับ อาจจะเหมาะสำหรับกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ ส่วนอีกกลุ่มที่มีกำลังซื้อในระดับหนึ่ง หรือใช้ EF Lens มาก่อนหน้า แล้วหันมาใช้ EOS R,EOS RP ก็ยังจะใช้ Adapter EF-EOS R เพื่อไปใช้เลนส์ EF กัน เพราะเลนส์ EF มีค่อนข้างหลากหลายกว่า เพิ่มช่องทางในกาเลือกเลนส์ได้มากกว่านะครับ  ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยี่ใหม่ก็ย่อมมีราคาที่สูงกว่า ดั่งคำกล่าวที่ว่า “คุณภาพตามราคา” ยังใช้ได้อยู่ครับ

ที่มา เนื้อหา ไฟส์ภาพ ขอขอบคุณ
https://snapshot.canon-asia.com/article/en/eos-r

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *