ตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ – 5 พื้นฐานที่ต้องรู้

มือใหม่หัดถ่าย vlog กับ “5 พื้นฐาน ตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ” อย่างที่รู้กันว่าในปี 2021 คอนเทนต์แบบวีดีโอยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง  ทำให้ใครหลายคนเริ่มสนใจการถ่าย vlog ถ่ายวิดีโอ สร้าง Chanel ของตัวเองกันมากขึ้น นอกจากคอนเทนต์ที่น่าสนใจแล้ว การใช้กล้องให้เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย

วันนี้เราก็เลยนำ “ 5 พื้นฐานการตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ” กับค่าต่างๆที่ควรรู้มาฝากกันค่ะ

ความละเอียด (Resolution)

ตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ

ความละเอียด (Resolution)

ความละเอียดวิดีโอในกล้องส่วนใหญ่จะเรียงจากน้อยไปมากตามนี้เลยยย
HD (720p) > Full HD (1080p) > 4K > 8K

– ยิ่งความละเอียดสูง ภาพก็จะยิ่งคมชัด เอาภาพไป Crop เจาะดีเทลเล็กๆ ก็ยังคงรายละเอียดภาพไว้ได้ดี

– กล้องส่วนใหญ่จะมีความละเอียดสูงสุดอยู่ที่ 4K

– ความละเอียดที่นิยมใช้ในงานทั่วไปจะอยู่ที่ 1080p (Full HD)

📍 Note: วิดีโอที่มีความละเอียดสูง ส่งผลให้ภาพมีความละเอียดมากขึ้นก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ไฟล์วีดีโอใหญ่ขึ้นเช่นกัน จึงต้องใช้อุปกรณ์ที่สามารถรองรับไฟล์ขนาดใหญ่เพื่อความลื่นไหลในการทำงาน

เฟรมเรท (Framerate)

ตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ

เฟรมเรท (Framerate)

เฟรมเรทของวิดีโอ คือ ความเร็วในการบันทึกภาพใน 1 วินาที (frame per second / fps)
เช่น 50 fps = ในหนึ่งวินาทีกล้องบันทึกภาพได้ 50 ภาพ

– ยิ่งเฟรมเรทสูง ก็ยิ่งทำให้ภาพลื่นไหลมากขึ้น หากนำภาพมาทำสโลโมชั่นก็จะได้ภาพที่ละเอียด และสมูทมากขึ้นด้วย

– เฟรมเรทที่นิยมใช้ในงานทั่วไปจะอยู่ที่ 25, 30, 60 fps (60 fps ถือว่าเผื่อทำสโลว์แบบ Cinematic ได้ในระดับนึงเลย)

– หากเน้นงาน Slow motion สวยๆก็อาจใช้เฟรมเรทที่สูงขึ้น เช่น 120, 240 fps

ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

ตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ

ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

– สำหรับการ ตั้งค่ากล้องถ่ายวิดีโอ ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับเฟรมเรท เช่น เฟรมเรท 60 fps ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/120 หรือ เฟรมเรท 25 fps ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/50 เป็นต้น

– หากใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วเกินไปจะทำให้การเคลื่อนไหวดูแข็ง ไม่ต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน หากนำภาพเคลื่อนไหวมาแคปเป็นรูปก็จะได้ภาพที่นิ่งกว่านั่นเอง

Picture Profile

Picture Profile

คือ ลักษณะของแสงและสีที่เราใช้ในวีดีโอ ซึ่งในปัจจุบันแต่ละค่ายก็ทำออกมาหลากหลาย เพื่อตอบสนองการใช้งานในรูปแบบต่างๆ แต่หลักๆก็จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน

👉🏽 Picture Profile ที่มีในกล้อง

  • โปรไฟล์สำเร็จรูปที่กล้องมีมาให้ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น
  • ใช้งานง่าย สะดวก สามารถนำไฟล์ไปใช้ได้เลย

👉🏽 Log Profile

  • ไฟล์วีดีโอที่เก็บรายละเอียดแสงได้มากกว่าปกติ เพื่อเอาไปเกรดสีต่อ
  • โทนสีที่ได้ในวีดีโอจะดูซีดๆ ต้องนำไปเกรดสีก่อนใช้งาน
  • มักใช้ในงานที่ซีเรียสกับโทนสี

นอกจากนี้ยังมี Picture Profile รูปแบบอื่นๆด้วย เช่น HLG ของ Sony ที่เป็นลูกผสมระหว่างการเก็บแสงแบบ VDO ปกติ กับ Log Profile

ระบบโฟกัส

ระบบโฟกัส

👉🏼 Auto Focus = ระบบโฟกัสอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับการทำงานของกล้อง

  • ใช้งานง่าย สะดวกสบาย เหมาะกับมือใหม่
  • อาจมีหลุดโฟกัสบ้างเป็นบางครั้ง เช่น เมื่อมีวัตถุเข้ามาบัง กล้องก็จะเปลี่ยนมาโฟกัสที่วัตถุนั้นแทนตัวแบบ เป็นต้น
  • มักใช้กับงานวิดีโอทั่วไป การตั้งกล้องถ่ายเอง เป็นต้น

👉🏼 Manual Focus = ระบบโฟกัสที่เราควบคุมเองได้

  • สามารถควบคุมโฟกัสได้ตามต้องการ
  • โฟกัสได้แม่นยำ ช่วยทำงานในจุดที่ออโต้โฟกัสทำได้ไม่ดี เช่น โฟกัสไม่เข้า โฟกัสวืดวาดไม่คงที่ เป็นต้น
  • ต้องมีคนคอยควบคุม

เป็นอย่างไรกันบ้างกับค่าต่างๆที่เกี่ยวกับการถ่ายวิดีโอ ซึ่งนอกจากค่าพวกนี้แล้วยังมีรายละเอียดอีกหลายๆอย่างที่มีส่วนทำให้งานวิดีโอของเรามีคุณภาพมากขึ้นไปอีก แต่สำหรับมือใหม่ก็ลองทำความเข้าใจค่าพื้นฐานเหล่านี้ให้เชี่ยวชาญก่อน แล้วค่อยเรียนรู้ต่อยอดเพิ่มขึ้นไปทีละขั้น ค่อยๆเรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์ รับรองว่างานต้องดีขึ้นเรื่อยๆแน่นอนน

สั่งซื้อกล้องและอุปกรณ์ดิจิตอลได้ที่ https://www.digital2home.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *