การเลือกใช้รูรับแสงให้เหมาะสมกับภาพแต่ละประเภท

การเลือกใช้รูรับแสงให้เหมาะสมกับภาพแต่ละประเภท

%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%87
คลิกที่รูปเพื่อขยาย

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยทั่วไป ว่าหน้าที่ของ รูรับแสง คือการควบคุมปริมาณแสงที่จะเดินทางเข้าสู่เซ็นเซอร์รับภาพ ยิ่งรูรับแสงมีขนาดใหญ่มากแสงก็จะผ่านได้มาก ทำให้ภาพสว่างขึ้น ถ้ารูรับแสงมีขนาดที่เล็กลงแสงก็จะ ผ่านเข้าไปได้น้อยลง ทำให้ภาพมืด

นอกจากเรื่องของปริมาณแสงแล้ว รูรับแสงขนาดเล็กหรือใหญ่ยังมีผลต่อ ระยะชัดลึกของภาพ (Depth of Field)  รูรับแสงกว้างจะมีช่วงระยะชัดลึกน้อย ส่วนรูรับแสงแคบจะมีช่วงระยะชัดลึกมาก

สำหรับขนาด รูรับแสง ที่เหมาะกับภาพแต่ละแบบนั้นลองมาดูกันครับ

ใช้ F/2.8 ในการถ่ายภาพใบหน้า
การถ่ายภาพบุคคลในระยะใกล้ เช่นการถ่ายบุคคลแบบโคลสอัพ จะต้องระมัดระวังการเปิดรูรับแสงไม่ให้กว้างจนเกินไป โดยเฉพาะเวลาถ่ายมุมเฉียง ที่ดวงตาไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน เหตุผลที่แนะนำค่า F/2.8 คือ ถ้าคุณใช้รูรับแสงที่กว้างมากๆ เช่น F/1.4 จะทำให้มีระยะชัดลึกน้อยมากๆ จนเก็บรายระเอียดของใบหน้าได้ไม่ครบถ้วน จะชัดแค่บางส่วนที่โฟกัส เช่น ดวงตาอาจชัดข้างเดียว ทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดสีหน้าอารมณ์ของตัวแบบได้ ดังนั้น การใช้ F/2.8 จึงเป็นค่าที่เหมาะสม เพราะจะได้ระยะชัดที่ครอบคลุมทั้ง ดวงตา2ข้าง จมูก ปาก จึงถ่ายทอดสีหน้าอารมณ์บนใบหน้าของตัวแบบได้อย่างเต็มที่ ขณะที่ก็ยังได้ส่วนของแบ็คกราวด์ที่ดูนุ่มนวล และยังถ่ายทอดความคมชัดของเลนส์ได้สูงกว่าการถ่ายที่รูรับแสงกว้างสุดอีกด้วย

 

35 mm / f2.8 / 1/80s / iso320

ค่า รูรับแสง f/2.8 ทำให้ดวงตา จมูก และปากยังอยู่ในระยะโฟกัส สามารถถ่ายทอดสีหน้าอารมณ์ของตัวแบบได้ ใบหน้าทั้งหน้าถูกถ่ายทอดออกมาด้วยความชัดเจน โดยยังได้ฉากหลังที่เบลอนุ่มนวล

 

35 mm / f1.4 / 1/80s / iso250

ค่ารูรับแสง f/1.4 ทำให้มีระยะชัดลึดน้อยเกินไป มีเพียงบางส่วนที่อยู่ในระยะโฟกัสและดวงตาด้านหน้าเบลอ ทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดสีหน้าอารมณ์ของตัวแบบได้

 

35 mm / f1.4 / 1/80s / iso250 โฟกัสดวงตาด้านหน้า

แต่ถ้ายังอยากใช้รูรับแสงกว้างๆ หรืออยากละลายฉากหลังมากๆ ให้ถ่ายโดยโฟกัสที่ดวงตาที่อยู่ด้านหน้า ภาพจะยังดูมีชีวิตชีวามากกว่าการโฟกัสที่ตาด้านหลัง ถึงแม้ดวงตาด้านหลังจะเบลอเล็กน้อยก็ตาม

 

ใช้ F/4 ถ่ายภาพพอร์ตเทรตนอกสถานที่
การถ่ายภาพบุคคลนอกสถานที่ นอกจากจะเก็บภาพสีหน้าท่าทาง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของตัวแบบแล้ว เรายังต้องการเก็บบรรยากาศความสวยงามของสถานที่นั้นๆไว้ด้วย เหตุผลที่แนะนำค่า F/4 เพราะค่านี้สามารถให้ระยะชัดกำลังดี ระยะชัดเพียงพอที่จะทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นจากฉากหลังโดยฉากหลังไม่เบลอจนเกินไป ทำให้ได้ภาพบุคคลพร้อมกับบอกเรื่องราวบรรยากาศของสถานที่นั้นๆไว้ในภาพเดียวกันอีกด้วย

f4-f8

ภาพที่ถ่ายด้วยค่ารูรับแสง f/4 ฉากหลังมีความเบลดเล็กน้อย เราสามารถเก็บบรรยากาศของสภาพแวดล้อมและยังถ่ายทอดสีหน้าท่าทางและความคมชัดของตัวแบบได้

ภาพที่ถ่ายด้วยค่ารูรับแสง f/8 ภาพแบ็คกราวด์ที่ถ่ายออกมานั้นยังดูชัดจนเกินไป ดูรก ส่งผลให้ตัวแบบที่เป็นบุคคลขาดความโดดเด่น

 

ใช้ F/11 ถ่ายภาพทิวทัศน์หรือภาพ landscapeให้คมชัด

dscf1163-edit

hy01_01

การถ่ายวิวภาพทิวทัศน์ ที่ต้องการให้องค์ประกอบในภาพมีความคมชัดเท่ากันหมด การใช้รูรับแสงกว้างๆ อาจจะทำให้ภาพไม่คมชัดได้ทั้งภาพ ดังนั้นการใช้รูรับแสงที่ F/11 จะทำให้มั่นใจได้ว่าภาพของคุณจะคมชัดทั้งภาพอย่างแน่นอน แต่ถ้าหากอยู่ในสภาวะแสงน้อย การตั้งค่ารูรับแสงที่แคบ อาจทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง ควรเพิ่มความไวแสง (ISO) เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น หรือใช้ขาตั้งกล้องทุกครั้งที่เป็นไปได้ อาจใช้งานร่วมกับ เทคนิค Hyperfocal Distance เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับการตั้งค่าที่แนะนำ ไม่ได้ได้เป็นค่าที่ตายตัว สามารถใช้ค่าอื่นๆได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้ถ่าย ยังไงลองนำไปใช้งานกันดูครับ

ติดตามบทความอื่นได้ทาง เว็บไซต์ digital2home.com สวัสดีครับ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *