กล้องคู่พระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่9

ลำดับกล้องคู่พระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่9

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 หรือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระปรีชาสามารถเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง การถ่ายภาพก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังที่เราได้เห็นกันบ่อยๆตามสื่อต่างๆ ว่าพระองค์ทรงพกกล้องติดพระหัตถ์ตลอดเวลา ในอิริยบทของนักถ่ายภาพ

การถ่ายภาพของพระองค์ ได้พัฒนาจากงานอดิเรกส่วนพระองค์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จนกระทั่งถึงการถ่ายภาพเพื่อใช้ในพระราชกรณียกิจดังที่ผ่านมา มีกล้องหลายรุ่นมากมาย ที่เป็นกล้อง คู่พระหัตถ์ เรามาดูกันว่า มีกล้องรุ่นใดบ้างที่ท่านทรงใช้ถ่ายภาพ ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

 

1.Coronet Midget ผลิตขึ้นในเบอร์มิงแฮมประเทศอังกฤษตั้งแต่ปีพ. ศ. 2477 จนถึงปีพ. ศ. 2486
Coronet-Midget
กล้องถ่ายรูปคู่พระหัตถ์ตัวแรกของพระองค์ เป็นของขวัญที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานให้เมื่อมีประชนมายุ 8 พระชันษา (ราวปี พ.ศ.2479) เป็นกล้องถ่ายรูปขนาดจิ๋วชื่อ Coronet Midget สีเขียวปะดำ

 

2.Kodak Vest Pocket Montreux ซึ่งคาดว่าน่าจะผลิตในช่วงปี พ.ศ. 2468 ถึงปีพ. ศ 2477
Kodak Vest Pocket Kodak
ระยะเวลาต่อมาใกล้ๆ กัน ทรงใช้กล้องอีกรุ่นหนึ่งคือ KODAK VEST POCKET MONTREUXนับเป็นกล้องตัวที่ 2 มีลักษณะคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมประเภทที่ฝรั่งเรียกว่า MINIBOX ใช้ฟิล์มม้วนถ่ายได้ม้วนละ 6 ภาพ

 

3.Elax Lumie’re ผลิตที่ฝรั่งเศสประมาณ พ.ศ. 2474 หรือ 2476
Elax Lumieare
ในปี พ.ศ.2481 พระองค์ทรงมีกล้อง Elax Lumie’re ซึ่งผลิตในฝรั่งเศส อีกหนึ่งกล้อง ทรงใช้จนเชี่ยวชาญกับกล้องนี้เป็นอย่างดีเพราะเหมาะกับพระหัตถ์มาก

 

4.Linhof (อาจเป็นรุ่น Technika IIIที่ผลิตหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 )
Linhof
ในยุคหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ได้เคยลองใช้กล้องLinhofจากประเทศเยอรมนี พบว่าไม่ถนัดพระหัตถ์สักเท่าไร พระองค์ท่านจึงไม่ได้นำมาใช้เป็นกล้องส่วนพระองค์

 

5.Hasselblad SLR ผลิตจากสวีเดน
Hasselblad-SLR
เป็นกล้อง SLR(single lens Reflex) ใช้ฟิล์ม 3 นิ้ว หรือ เบอร์120 ที่มีจุดเด่นก็คือ สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ มีแมกกาซีนใส่ฟิล์มได้หลายชนิดและหลายขนาด พระองค์ทรงทดลองใช้กล้องยี่ห้อนี้อยู่หลายปี จนกระทั่งเกิดแสงรั่วเข้าแมกกาซีน ช่างไทยสมัยนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องส่งกลับไปซ่อมที่บริษัทต่างประเทศ พระองค์จึงทรงเลิกใช้

 

6.Ikoflex
Ikoflex
Zeiss Ikoflex บริษัทผลิตเลนส์ชั้นนำของโลกอย่าง Zeiss ผลิตกล้องรุ่น Ikoflex ซึ่งเป็นกล้องสะท้อนภาพแบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex) พระองค์ท่านทรงทดลองใช้กล้องตัวนี้เมื่อปี พ.ศ.2494 ทรงมีพระราชดำรัสว่าใช้งานง่าย เลนส์ดีให้ภาพสวยคมชัดดีมาก

 

7.ZeissnContax II
Contax II
พระองค์ทรงใช้กล้อง Contax II ใช้เลนส์ Zeiss-opton No.821255 กับ Zeiss-opton No.885584 Sonar 1:2 f.50 mm. เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก เพราะเป็นกล้องที่นำสมัยในสมัยนั้น สามารเปลี่ยนเลนส์ได้ทั้งยังมีเครื่องวัดแสงในตัวด้วย เสด็จฯ ณ ที่ใดจะทรงใช้อยู่เป็นประจำ ปัจจุบันทรงพระราชทานไว้ที่สวนหลวง ร.9

 

8.Leica M (1967-1987)
Leica-M
ในช่วงที่ Contax II กำลังเป็นที่ชื่นชอบของนักถ่ายภาพ บริษัท E.Leitz Wetzlar ของเยอรมนี ได้ออก Leica M ซึ่งเป็นกล้องที่มีชื่อเสียงพอสมควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกล้องรุ่นนี้ เป็นกล้องมือสองและทดลองใช้อยู่ระยะหนึ่ง

 

9.Super ikonta
Super-ikonta
กล้อง Super ikonta ของบริษัท Zeiss ikon ใช้ฟิล์มเบอร์ 120 ได้ภาพ 6×9 ซม. 8 ภาพ หรือสามารถแบ่งเป็นภาพ 6×4.5 ซม. 16 ภาพ พระองค์ทรงใช้อยู่ระยะหนึ่งแต่มีข้อเสียคือฟิล์มหมดม้วนเร็วเกินไป จึงได้พระราชทานให้หัวหน้าช่างภาพประจำพระองค์ในสมัยนั้น (นายอาณัติ บุนนาค) ใช้ในงานราชการต่อไป

 

10.Robot Royal No.G
Super ikonta
ในขณะนั้นกล้องถ่ายภาพในเครือบริษัท Robot ได้ออกกล้อง Robot Royal No.G 125721 Mod 111 Lens : Schneider-Kreuznach Xenon 1.1.9/3542375 เป็นกล้องที่ใช้ฟิล์มเบอร์ 135 ภาพที่ได้เป็นสีเหลี่ยมจตุรัส ลักษณะกล้องป้อมกะทัดรัด เหมาะพระหัตถ์ เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก

 

11.Kiev
Kiev
เมื่อครั้งประเทศไทยได้จัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2496 ที่สวนลุมพินี สถานฑูตรัสเซียมาเปิดร้าน เจ้าหน้าที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย กล้องยี่ห้อ Kiev ซึ่งเป็นกล้องที่คล้ายกับ Zeiss ikon ขนาด 6×9 ซม.ทรงรับไว้ และทดลองใช้จนเข้าพระทัยทุกขั้นตอน

 

12.Canon-7
Canon 7
ในระยะหลังๆ กล้องที่ผลิตจากญี่ปุ่นเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงใช้กล้องญี่ปุ่นดูบ้าง อย่าง Canon-7 แบบเล็งระดับตา แต่ไม่สามารถทำงานได้ตามพระราชประสงค์เท่าใดนัก เพราะไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้

 

13.Canon A-1
Canon_A1
ต่อมาทรงเปลี่ยนเป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR)รุ่น Canon A-1 สามารถใช้งานได้สองระบบคือระบบ Manual และ Auto พระองค์ทรงมีกล้องรุ่นนี้อยู่สองกล้อง คือ กล้องแรก Canon A1/2097120 FD 1:1.4/50 mm. 2052111 เลนส์มาตรฐาน อีกกล้องหนึ่งคือ Canon A1/2307372 Lens RMC Tokina Zoom 35-105 mm. 1:3.5-4.3

 

14.Canon 35 Autofocus Lens f=38 mm
Canon 35 Autofocus

ต่อมาทรงมีกล้องรุ่นใหม่ๆ แบบอัตโนมัติคือ กล้อง Canon 35 Autofocus Lens f=38 mm เป็นกล้องขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พระองค์ทรงใช้อยู่พักหนึ่งทรงปรารภว่า ใช้ง่ายเกินไป
และไม่ค่อยเหมาะกับพระหัตถ์มากนัก

 

15.Nikon F3
Nikon-F3
Nikon F3 ได้รับความนิยมมากเพราะรูปทรงแปลกใหม่ วัสดุ แข็งแรง พระบาทสมเด็จทรงใช้กล้องรุ่นนี้พร้อมเลนส์มาตรฐาน และเลนส์ซูมขนาด 35-105 mm. อยู่พักหนึ่ง เมื่อคราวเสด็จฯ รอบโลกทรงใช้กล้อง Nikon รุ่น F3 นี้บันทึกภาพเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก แต่หากมีน้ำหนักมากไปนิด จึงพระราชทานให้เป็นสมบัติของช่างภาพส่วนพระองค์มาจนกระทั่งทุกวันนี้

 

16.Canon EOS 650 / EOS 620
Canon EOS 650

eos 620
ในช่วงที่กล้องถ่ายภาพประเภท ทำงานด้วยอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทดลองใช้กลุ่ม Canon EOS โดยเริ่มตั้งแต่ EOS 650
และต่อมาก็ทรงทดลองใช้รุ่น EOS 620 อีกรุ่นหนึ่ง

 

17. Nikon F401s
Nikon F401s
ขณะเดียวกันทางค่าย Nikon ก็ออกรุ่น F401s เป็นรุ่นที่มีแฟลชในตัวซึ่งมี Image Master Comtrol สามารถใช้เลนส์ปรับระยะชัดอัตโนมัติได้ ใช้เลนส์35-105 mm. f3.5-4.5

 

18.Minolta Dynax 5000i
Minolta-Dynax-5000i
อีกยี่ห้อหนึ่งที่ออกมาสร้างความแปลกใหม่ ให้กับวงการถ่ายภาพ คือ Minolta Dynax 5000i สร้างความสะดวกสบาย และถ่ายภาพได้ผลเที่ยงตรง ออกแบบได้แปลกใหม่และเพิ่มการสร้างสรรค์ผลงานด้วยระบบการ์ด (Creative Expansion Card System) มีหลายแบบ อาทิ ถ่ายภาพกีฬา ถ่ายภาพบุคคล เป็นต้น

 

19.Minolta Weather Matic 35DL
Minolta-Weather-Matic-35DL

นอกจากนี้พระองค์ยังได้ลองใช้กล้อง compact อย่างเช่น Minolta Weather Matic 35DL และรุ่นอื่น ๆ อีกมากมาย

 

20.RICOH EF
RICOH-EF
RICOH EF คือกล้องที่พระองค์จับฉลากได้เป็นของขวัญรางวัล ซึ่งในปีต่อมา พระองค์ก็ทรงใช้กล้องตัวเดียวกันนี้เป็นของวัญจับฉลากอีกทีหนึ่ง

 

21.Canon EOS 30D
canon eos 30D

กล้องล่าสุดที่พระองค์ท่านทรงใช้คือ Canon EOS 30 ซึ่งได้ทรงถ่ายรูปประชาชนเมื่อครั้งที่เสด็จกลับจาก โรงพยาบาล ศิริราช

 

จะเห็นได้ว่ากล้องแต่ละรุ่นที่พระองค์ทรงใช้ ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นรุ่นใหม่หรือรุ่นที่ดีที่สุดเสมอ ในระยะหลังหลายบริษัทนำกล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพขึ้นทูลเกล้าถวาย เนื่องในวโรกาสต่างๆ พระองค์ทรงลองใช้ บางกล้องก็จะเก็บไว้เป็นกล้องคู่พระหัตถ์ บางส่วนก็ได็โปรดพระราชทานให้บุคคลแหละหน่วยงานต่างๆนำไปใช้ประโยทางการถ่ายภาพต่อไป

พระราชดำรัสเรื่องการถ่ายภา

“การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ เป็นของดีมีประโยชน์ ขออย่าได้ถ่ายภาพกันเพื่อความสนุกสนานหรือความสวยงามเท่านั้น จงใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคมให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม งานศิลปะจะได้ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แสดงไว้ ณ The First Annual Bangkok Art & Photography Event 2007

ขอน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

www.digital2home.com

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *